บันทึกการเรียนรู้ (ครั้งที่ 2)

    
                                                      
                                                       
                                           

    วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย  รหัสวิชา EAED 1103  
   วันอังคารที่ 16 เดือน มกราคม พ.ศ 2561
             บันทึกการเรียนรู้  (ครั้งที่ 2)

วันนี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับบทที่ 1 เด็กปฐมวัยและพัฒนาการ 
ความหมายเด็กปฐมวัย

   เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปี  มีธรรมชาติที่อยากรู้อยากเห็น ช่างสงสัย ช่างซักถาม ชอบค้นคว้า สำรวจ อยู่ไม่นิ่ง 
ความสำคัญของเด็กปฐมวัย
   ความสำคัญต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย จำเป็นต้องได้รับการอบรมเลี้ยงดู และการเรียนรู้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับวัย ด้วยการจัดประสบการณ์และการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้เด็กได้พัฒนาตามศักยภาพของตน เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข และเติบโตเป็นพลเมืองที่ดีมีคุณภาพ 

ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
 ไม่รู้ว่าความคิดความรู้สึกของตนต่างไปจากของผู้อื่น
 ชอบเลียนแบบบุคคลที่ตนรัก หรือตนสนใจ

 มีความอยากรู้อยากเห็นสูง
ความหมายของพัฒนาการ
     พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ที่เป็นไปอย่างมีลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาซึ่งมีความสัมพันธ์ระหว่าง เวลา วุฒิภาวะ การเรียนรู้ และสิ่งแวดล้อม อันส่งผลให้มนุษย์มีความสามารถและพฤติกรรมที่แตกต่างกัน และเป็นไปตามศักยภาพ
ลักษณะของพัฒนาการ
1. พัฒนาการเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน
2. การพัฒนาจะมีทิศทางของพัฒนาการที่แน่นอน
1) พัฒนาการเริ่มจากส่วนบนไปสู่ส่วนล่าง (cephalo - caudaldirection)
2) พัฒนาการเริ่มจากแกนกลางของลำตัว ไปสู่อวัยวะส่วนข้างที่ไกลออกไป (proximo distal direction)
3) พัฒนาการของมนุษย์จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอนไม่มีการข้ามขั้น

4) อัตราพัฒนาการของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับองค์ประกอบใหญ่ ๆ 2 ชนิด คือ พันธุกรรม และสภาพแวดล้อม

ลักษณะทั่วไปของพัฒนาการเด็กปฐมวัย
1. เกิดจากองค์ประกอบภายในร่างกาย (internal factors) ได้แก่
1.1 พันธุกรรม (heredity)
1.2 วุฒิภาวะ (maturation)
2. เกิดจากองค์ประกอบภายนอกร่างกาย (external factors)

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย
1. อาหาร
2. อากาศที่บริสุทธิ์และแสงแดด
3. เชื้อชาติ
4. เพศ
5. ต่อมต่าง ๆ ของร่างกาย
6. สติปัญญา
พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กประเภทต่าง ๆ
พัฒนาการด้านต่างๆของเด็กแต่ละวัย
  


การเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัยตั้งแต่ปฏิสนธิถึงแรกเกิด

สุธิภา อาวพิทักษ์ (2542, หน้า 3) ได้ให้ความหมายของ การเจริญเติบโต ว่าเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงของขนาดซึ่งเกิดจากการเพิ่มจำนวนหรือขนาดของเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย อาจเกิดเพียงเฉพาะที่หรือทุกส่วนของร่างกาย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การเพิ่มขนาดของร่างกายที่สามารถวัดได้ เช่น น้ำหนัก ความสูง 
                                                              
การปฏิสนธิ คือ การผสมของอสุจิซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์ของพ่อกับเซลล์ของแม่คือไข่ ดียวกันเกิดการปฏิสนธิ(Conception)เกิดเป็นเซลล์เล็กกว่าไข่ใบเดิมมีขนาด 0.15 มิลลิเมตร ซึ่งเล็กกว่าจุด นั่นคือจุดเริ่มต้นของชีวิต



   
ดูวิดีโอการปฎิสนธิ- การคลอด

 



 
                                             ภาพกิจกรรมการเรียนการสอน

ทำให้รู้จักพัฒนาการตามวัของเด็กและการเจริญเติบโตแต่ละขั้น เป็นไปตามลำดับขั้นตอน เพราะเด็กแต่ละคนล้วนมีความแตกต่างกันออกไป แต่ขึ้นอยู่กับการอบรมเลี้ยงดูจากพ่อแม่ โดยการมอบความรัก ความใกล้ชิดเด็กจะทำให้พัฒนาไปตามวัยของเด็กแต่ละคนอย่างเต็มที่


แบบประเมิน

แบบประเมินตนเอง   
 

ตั้งใจมากขึ้น ในการฟังอาจารย์

 แบบประเมินเพื่อน  

วันนี้เพื่อนทุกคนตั้งใจ
 และตอบโต้อาจารย์ได้ดี

แบบประเมินครู  
 อาจารย์ตั้งใจสอน ตั้งใจอธิบายเนื้อหาอย่างเข้าใจและครบถ้วน




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บันทึกการเรียนรู้ (ครั้งที่ 3)

บันทึกการเรียนรู้ (ครั้งที่ 13)