บันทึกการเรียนรู้ (ครั้งที่ 3)




     

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย  รหัสวิชา EAED 1103  
   วันอังคารที่ 23 เดือน มกราคม พ.ศ 2561
            
 บันทึกการเรียนรู้  (ครั้งที่ 3)

วันนี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับบทที่ 2 ทฤษฏีที่เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
และดูวิดีโอ ตอนลูกเราน่ารักที่สุดเลย 
ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์  
ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmond Freud) เป็นนักจิตวิทยาชาวออสเตรียที่มีความเชื่อว่าพัฒนาการบุคลิกภาพของคนขึ้นอยู่กับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานทางด้านสรีระ หรือที่เขาเรียกว่าแรงขับโดยสัญชาตญาณ  พัฒนาการบุคลิกภาพของคนขึ้นอยู่กับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานทางด้านสรีระ หรือที่เขาเรียกว่าแรงขับโดยสัญชาติญาณแรงขับโดยสัญชาติญาณ  
แรงขับ ดังกล่าวมี 3 ประเภท ได้แก่ 
1.แรงขับทางเพศหรือความต้องการตอบสนองทางเพศ (libido
2. แรงขับหรือความต้องการที่จะมีชีวิตอยู่ (life-preserving drive) 
3.แรงขับหรือความต้องการที่จะแสดงความก้าวร้าว (aggressive drive)
 โครงสร้างหลักของบุคลิกภาพ
   อิด (Id) หมายถึง พลังหรือแรงผลักที่มีมาแต่กำเนิด เป็นสันดานดิบของมนุษย์ที่มีแต่ความต้องการสนองสนองแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงสิ่งใด ฟรอยด์เห็นว่าแรงผลักชนิดนี้มีอยู่ในทารก
    อีโก้ (Ego) เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างบุคลิกภาพที่ได้มีการคิดรวบรวมข้อมูลต่างๆ และมีการวางแผน การรู้จักรอคอย ร้องขอหรืออื่น ๆ เพื่อให้ได้รับการตอบสนองในสิ่งที่ต้องการ
   ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่คอยควบคุมหรือปรับการแสดงออกของอิดและอีโก้ให้สอดคล้องกับเหตุผลความถูกผิด คุณธรรมหรือจริยธรรม

ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตสังคมของอีริคสัน
อีริค อีริคสัน (Erik H. Erikson) เป็นนักจิตวิทยา  พัฒนาการที่มีชื่อเสียงและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากมีแนวคิดว่าวัยเด็กเป็นวัยที่สำคัญและพร้อมเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว
ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตสังคมของอีริคสัน
    วัยเด็กเป็นวัยที่สำคัญและพร้อมเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว หากประสบการณ์และสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กดี เด็กจะมองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่นในตนเองในทางตรงกันข้ามหากประสบการณ์และสภาพแวดล้อมไม่ดีไม่เอื้อหรือส่งเสริมต่อการเรียนรู้ของเด็ก 
“ทฤษฎีพัฒนาการทางบุคลิกภาพของอีริคสันได้แสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่องของการพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคล ตั้งแต่ทารกจนถึงวัยสูงอายุ     ทำให้เป็นแนวทางสำ คัญในการอบรมเลี้ยงดูเด็กโดยเฉพาะในวัยทารก ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของพัฒนาการในวัยต่อไป…”


ทฤษฎีวุฒิภาวะของกีเซล
อาร์โนลด์ กีเซล  (Arnold Gesell) เป็นนักจิตวิทยาที่มีความเชื่อในเรื่องของความเจริญเติบโตตามวุฒิภาวะ โดยกล่าวว่า “วุฒิภาวะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างมีระเบียบ โดยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งเร้าภายนอก”

          “วุฒิภาวะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างมีระเบียบ โดยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งเร้าภายนอก” กีเซลเชื่อว่าพฤติกรรมของเด็กจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยา ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมขึ้น การฝึกฝนหรือการเรียนรู้ไม่ว่าลักษณะใดก็ตาม จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์และเป็นการเสียเวลาโดยใช่เหตุ                               

ทฤษฎีพัฒนาการด้านการรู้คิดของเพียเจท์
ฌอง เพียเจท์ (Jean Piaget) นักจิตวิทยาชาวสวิส ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กและพัฒนาการทางสติปัญญา  พัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กและพัฒนาการทางสติปัญญา ตามแนวความคิดของเพียเจท์ ได้อธิบายถึงพัฒนาการทางความคิดและสติปัญญาในความเห็นของเขาว่า บุคคลสามารถคิด ดัดแปลงความคิดและแสดงความคิดของตนออกมาได้ ย่อมเป็นผลมาจากขบวนการปรับเข้าสู่โครงสร้าง (assimilation) และการจัดปรับขยายโครงสร้าง (accommodation) โดยผลของการทำงานดังกล่าวจะเกิดเป็นโครงสร้างขึ้น (schema)

“ทฤษฎีด้านสติปัญญาของเพียเจท์ ช่วยให้เข้าใจกระบวนการคิดของเด็ก ซึ่งเป็นกลไกการคิดที่มีความต่อเนื่อง เป็นขั้นตอน ตั้งแต่การเรียนรู้จากประสาทสัมผัส การเคลื่อนไหว เข้าใจในสิ่งที่เป็นรูปธรรม และไปสู่การคิดอย่างมีเหตุผล

ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กลอเรนซ์ โคลเบิร์ก  (Lowrence Kohlberg)
เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้ศึกษาค้นคว้าทางด้านพัฒนาการทางจริยธรรม ซึ่งได้รับอิทธิพลความคิดและผลงานมาจากเพียเจท์โดยโคลเบอร์กเห็นด้วยว่าพัฒนาการทางการคิดเป็นพื้นฐานของพัฒนาการทางจริยธรรมเช่นเดียวกับเพียเจท์ซึ่งพัฒนาการทางจริยธรรมของบุคคลจะมีลำ ดับขั้นเช่นเดียวกับพัฒนาการด้านอื่น ๆ

ทฤษฎีพัฒนากเจอโรม บรุนเนอร์     (Jerome.S.Bruner) ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางการคิดและใช้เหตุผล (Cognitive) โดยอาศัยแนวคิดของเพียเจท์เป็นหลัก
ารทางความคิดความเข้าใจของบรุนเนอร์














                                                         ภาพกิจกรรมการเรียนการสอน

จากการดูวิดีโอ ตอน ลูกเราน่ารักที่สุดเลย ทำให้ได้ข้อคิดจากเรื่องที่ดี เกี่ยวกับ การอบรมเลี้ยงดูเด็กได้นั้นต้องเริ่มจากพ่อแม่ก่อนเพราะพ่อแม่เป็นคนที่อบรมสั่งสอน ให้ลูกเป็นคนดี แต่จากเรื่อองเป็นการอบรมที่ไม่ถูกต้อง ใช้คำชมที่ยกย่องลูกว่า ลูกน่ารัก ลูกเก่ง เป็นการทำให้เด็กคิดว่าเรื่องนี้ทำแล้วถูกต้อง ทำให้ผลที่ตอบรับกลับมาทำให้คนเดือดร้อน มองว่าเด็กคนที่ไร้มารยาท ไม่มีใครสั่งสอนแต่ที่แท้จริงเด็กคือผ้าขาวบริสุทธิ์ที่สามารถป้อนสิ่งต่างๆเข้าไปได้ง่าย


แบบประเมิน

แบบประเมินตนเอง   

ตั้งใจที่จดจ่อกับเนื้อหาในการเรียน

 แบบประเมินเพื่อน  

วันนี้เพื่อนทุกคนตั้งใจ
 และสนุกในการดูวิดีโอและยังได้ข้อคิดจากเรื่องที่ดู

แบบประเมินครู  
  อาจารย์ตั้งใจสอน ตั้งใจอธิบายเนื้อหาและมีสอดแทรกสื่อการเรียนรู้ใหม่ๆมากขึ้น ทำให้สนุกที่จะเรียน
   







ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บันทึกการเรียนรู้ (ครั้งที่ 2)

บันทึกการเรียนรู้ (ครั้งที่ 13)