บันทึกการเรียนรู้ (ครั้งที่ 10)






วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย  รหัสวิชา EAED 1103 

    วันอังคารที่ 20 เดือนมีนาคม  พ.ศ 2561

             บันทึกการเรียนรู้  (ครั้งที่ 10)
                              
วันนี้ได้เรียนเกี่ยวกับแนวทางการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้  มีดังนี้
     ความหมายของสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมอาจแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. สิ่งแวดล้อมภายในตัวบุคคล (implicit environment)  ได้แก่
การทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ระบบย่อยอาหาร
ระบบขับถ่าย ระบบต่อมไร้ท่อ เป็นต้น
2. สิ่งแวดล้อมภายนอก (explicit environment) ได้แก่
สิ่งแวดล้อมที่อยู่ภายนอกกายของมนุษย์ เช่น วัตถุสิ่งของ คน พืช สัตว์ กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดจากคนและสัตว์ รวมไปถึงสิ่งที่เป็นนามธรรม (abstract) ได้แก่ ศีลธรรมจรรยา ขนบธรรมเนียมประเพณีในสังคมด้วย

สิ่งแวดล้อมมีความหมายและความสำคัญต่อเด็กเล็ก 
      คือเด็กได้รับการฝึกอบรมให้รู้จักบทบาทต่างๆ ในสังคม ทั้งในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ไปพร้อมๆ กัน กระบวนการของการอบรมให้คนเป็นสมาชิกของสังคมนั้น จะขึ้นอยู่กับเจตคติ ความคาดหวัง และค่านิยม
ของสังคมที่คนๆ นั้นเกี่ยวข้องด้วย เนื่องจากบทบาทที่แสดงอยู่เปลี่ยนไปก็จะส่งผลกระทบต่อคนอื่นๆ
ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็ก
ปฐมวัยมีดังนี้
1. ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากการตอบสนองความต้องการพื้นฐาน
2. ประสบการณ์ที่ได้จากการสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว
3. ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากสัมพันธภาพทางสังคม
4. ประสบการณ์ที่ได้รับความสะเทือนใจมาตั้งแต่วัยเด็ก

อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
1. สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางกาย
2. สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และสังคม
3. สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา

การจัดสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาเด็กปฐมวัย

1. การจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียน
2. การจัดสิ่งแวดล้อมนอกห้องเรียน  เป็นต้น
การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมในเด็กปฐมวัย
   ความหมายของคำว่า จริยธรรมไว้ในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้“จริยธรรม คือ หลักแห่งการประพฤติ ปฏิบัติที่ดี ที่เหมาะที่ควร”“จริยธรรม คือ หลักคำสอนที่ว่าด้วยแนวทางการประพฤติที่เป็นหลักการและเป็นที่ยอมรับนับถือ”

การพัฒนาจริยธรรมนั้นมีแนวทางการพัฒนาโดยอาศัยทฤษฎีที่เกี่ยวข้องดังนี้
โคลเบอร์ก เป็นนักจิตวิทยาที่อธิบายถึงจริยธรรมของคนที่พัฒนาขึ้นไปพร้อม ๆ กับความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ ระดับก่อนกฎเกณฑ์ ระดับกฎเกณฑ์สังคม และระดับเลยกฎเกณฑ์ของสังคม สำหรับเด็กปฐมวัย จะอยู่ในขั้นแรกของทฤษฎีคือ ระดับก่อนกฎเกณฑ์ เด็กวัยนี้จึงตัดสินความถูกผิดจากความรู้สึกของตนเอง และตามกฎเกณฑ์ที่ ผู้อื่นกำหนดโดยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนดังนี้
             ขั้นตอนที่ 1 การหลีกเลี่ยงการลงโทษและการทำตามคำสั่ง 
             ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติเพื่อมุ่งหวังรางวัลส่วนตัว    
ทฤษฎีการเรียนรู้จริยธรรมด้วยการกระทำตามแนวคิดของสกินเนอร์
    สกินเนอร์ (Skinner) นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม เป็นผู้เสนอทฤษฎีที่มีความเชื่อว่าพฤติกรรมของคนเกิดจากการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ผลจากการแสดงพฤติกรรมนั้นจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าพฤติกรรมนั้นจะมีแนวโน้มเกิดขึ้นอีกหรือไม่ในสถานการณ์ที่คล้ายกับสถานการณ์เดิม ถ้าเกิดขึ้นอีกจะเรียกผลพฤติกรรมนั้นว่า การเสริมแรงทางบวก แต่ถ้าไม่เกิดขึ้นอีกเรียกผลของพฤติกรรมนั้นว่า การลงโทษ
ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมจริยธรรมตามแนวคิดของแบนดูรา
  แบนดูรา (Bandura) นักจิตวิทยาสังคม อธิบายว่า พฤติกรรมส่วนใหญ่ของคนในสังคมเกิดจากการเรียนรู้ โดยการสังเกตจากตัวแบบ ทั้งตัวแบบในชีวิตจริง หรือตัวแบบที่เป็นสัญลักษณ์ ทั้งนี้ตัวแบบจะทำหน้าที่ทั้งสร้างหรือพัฒนาพฤติกรรมจริยธรรม และจะทำหน้าที่ในการระงับ พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ 







                                                            ภาพกิจกรรมการเรียนการสอน
                

                  แบบประเมิน

แบบประเมินตนเอง  
ตั้งใจในการฟังอาจารย์ แต่สมาธิหลุดบ้างครั้งคราว

แบบประเมินเพื่อน 
     เพื่อนตอบโต้อาจาย์อย่างสนุกสนานและตั้งใจฟัง 
เมื่อมีคำถามก็ยกมือ และสนุกในการเรียน

แบบประเมินครู 
   
อาจารย์ตั้งใจสอนและบรรยายอย่างละเอียด 
มีการยกตัวอย่างให้เห็นชีชัดเจน





                   
                                                                            
           

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บันทึกการเรียนรู้ (ครั้งที่ 2)

บันทึกการเรียนรู้ (ครั้งที่ 3)

บันทึกการเรียนรู้ (ครั้งที่ 13)